ผู้ที่เบียดเบียน ย่อมมีแต่ความเศร้าโศก

ผู้ที่เบียดเบียน ย่อมมีแต่ความเศร้าโศก

ปาณฆาตี หิ โสจติ อ่านว่า ปานะคาตี หิ โสจะติ “นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อนายพรานเนื้อคร่ำครวญอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป บ่วงของนายพรานขาดไปแล้ว เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อนายพรานเศร้าโศกอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป” คาถาสุภาษิตของพระรัฏฐปาลเถระ.

สติ ทำให้ตื่นอยู่ในโลก

สติ ทำให้ตื่นอยู่ในโลก

สติ โลกสฺมิ ชาคโร อ่านว่า สติ โลกัสมิ ชาคะโร “เมื่อมีสติแล้ว สัมปชัญญะความรู้ตัวมันก็จะเกิดขึ้นมา” สติกับสัมปชัญญะเป็นของคู่กัน เมื่อทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกันแล้ว “ก็จะนำปัญญาให้เกิดตาม” ทีนี้เมื่อมีทั้งสติ สัมปชัญญะปัญญาแล้ว “ก็จะเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน” .. ” หลวงปู่ชา สุภัทโท

คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นเอง

คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นเอง

ยานิ กโรติ ตานิ ปสฺสติ อ่านว่า ยานิ กะโรติ ตานิ ปัดสะติ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติย่อมให้ผลเอง และเท่าเทียมกันกับทุกคน ไม่มีคำว่าสองมาตรฐานอย่างแน่นอน ผู้ใดทำกรรมใดไว้ ผู้นั้นย่อมได้รับผลกรรมนั้น

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตน

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตน

ปญฺญาเจนํ ปสาสติ อ่านว่า ปัญญา เจนัง ปะสาสะติ “ปัญญาควบคุมความคิด” ” .. ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญา “ปัญญาควบคุมความคิดได้” ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญา “ดังนั้นผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถควบคุมความคิดมิให้ก่อให้เกิดความทุกข์ได้” นั่นคือผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามรถพาใจหลีกพ้นความเศร้าหมองของกิเลสได้ ผู้ไม่มีปัญญาหาทำได้ไม่ ความทุกข์ทั้งหลายหลีกไกลด้วยปัญญา “ปัญญามีอำนาจเหนือความคิด ก็คือปัญญาที่มีอำนาจเหนือกิเลสนั่นเอง” เพราะเมื่อปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดก็จะไม่ปรุงแต่งไปกวนกิเลสที่มีอยู่เต็มโลก […]

เว้นเหตุแห่งทุกข์ ย่อมมีสุขในทุกที่

เว้นเหตุแห่งทุกข์ ย่อมมีสุขในทุกที่

สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ อ่านว่า สับพัดถะ ทุกฺขัดสะ สุขัง ปะหานัง ให้รู้จักทุกข์ ให้รู้ว่าทุกข์คืออะไร รู้จักสาเหตุแห่งทุกข์ (คือรู้จักผล คือทุกข์) แต่ต้องมารู้สาเหตุแห่งทุกข์ จะต้องใช้หลักอริยสัจ ๔

ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน

ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ อ่านว่า อัดตาหิ อัดตะโน นาโถ พระองค์ตรัส ให้เรานี้ มีที่พึ่ง มีเพียงหนึ่ง ที่ชิด ติดองค์สาม ไม่พ้น กาย วาจา ใจ ที่งดงาม ก่อในคาม […]