พึงประพฤติตน ให้พอเหมาะพอดี

พึงประพฤติตนให้พอเหมาะพอดี

อนุมชฺฌํ สมาจเร อ่านว่า อนุมัดชัง สะมาจะเร “อัตตัญญูตา” คือ ความรู้จักตน และก็ประพฤติปฏิบัติให้สมกับฐานะของตัว ว่าฐานะของเราเป็นอย่างไร? และวัด บ้าน โรงเรียน สถานที่ราชการ เราควรวางตัว ทำตัวอย่างไร มันมีคนพร้อมหมด เช่น พระเณร ก็มี […]

ผู้มีบุญ ย่อมยินดีในการทำบุญ

ผู้มีบุญ ย่อมยินดีในการทำบุญ

ปุญฺเญน ปุญฺญํ สนฺทมานา อ่านว่า ปุญเญนะ ปุญญัง สันทะมานา บุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข ชีวิตของทุกๆคนที่ผ่านพ้นไปในรอบปีหนึ่งๆ นับว่าเป็นลาภอย่างยิ่ง จึงถือเหตุทำบุญ เพื่อความเจริญอายุ วรรณะ สุข พละ อันเป็นพรที่ทุกๆคนปรารถนา พรเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นจากการทำบุญ เราจึงยินดีในการทำบุญ และยินดีได้รับพรจากพระ […]

คนชั่ว ย่อมเพลิดเพลิน ในการทำบาป

คนชั่วย่อมเพลิดเพลิน ในการทำบาป

ปาเปน ปาปํ สนฺทมานา อ่านว่า ปาเปนะ ปาปัง สันทะมานา “กรรม เหมือนยาพิษ” ” .. กรรมนั้นให้ผลสัตย์ซื่อนัก เหมือนผลของยาพิษร้าย กรรมนั้นเมื่อทำแล้ว ก็เหมือนดื่มยาพิษร้ายแรงเข้าไปแล้ว จักไม่เกิดผลแก่ชีวิตและร่างกายไม่มี ถ้าเป็นกรรมดี ก็จักให้ผลดี ถ้าเป็นกรรมชั่ว ก็จักให้ผลชั่ว […]

ควรละบาปทั้งหลายเสีย

ควรละบาปทั้งหลายเสีย

ปาปานิ ปริวชฺชเย อ่านว่า ปาปานิ ปะริวัชชะเย “บาปนั้นให้ละเสีย อย่าทำ” ” .. พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าบาป บาปนั้น “ไม่ว่าบาปทางกาย บาปทางวาจา บาปทางความคิด พระพุทธเจ้าสอนว่าให้ละ” ให้ละทิ้งอย่าไปตามมันไป บาปท่านสอนให้ละ เพราะว่าบาป “คนเราประกอบกระทำด้วยกาย วาจา […]

ควรเป็นอยู่ ให้เหมาะสม

ควรเป็นอยู่ ให้เหมาะสม

สมชีวิตา โหนฺติ อ่านว่า สะมะชีวิตา โหนติ “ทางสายกลาง” มัชฌิมาปฏิปทา เส้นทางของพระพุทธเจ้า ทางสายกลาง คือ เราจะต้องคำนึงถึงความจริงแห่งอริยสัจจ์ คือ ความจริงที่เหมาะสมกับเหตุของภูมินั้นๆ ถึงจะเรียกว่า ทางสายกลาง จะสุดโต่งก็ไม่ได้ จะหย่อนยานก็ไม่ได้ ต้องให้ “พอดี” กับ […]

การมีกัลยาณมิตร เป็นสิ่งดี

การมีกัลยาณมิตร เป็นสิ่งดี

กลฺยาณมิตฺตตา โหติ อ่านว่า กันละยานะมิดตะตา โห-ติ “กัลยาณมิตรคือ ผู้พร้อมด้วยคุณสมบัติที่สามารถจะปกปักรักษาเราให้สวัสดี” พ้นจากภัยพิบัตินานาประการได้ เพราะกัลยาณมิตรจะไม่เป็นพิษเป็นภัยสำหรับเรา จะทำทุกประการให้เรารู้ทางดำเนินชีวิตอย่างปราศจากทุกข์โทษภัยไม่ว่ายิ่งใหญ่หรือเล็กน้อย

บัณฑิต แม้มีทุกข์ก็ไม่ละทิ้งธรรม

บัณฑิต แม้มีทุกข์ก็ไม่ละทิ้งธรรม

ทุกฺโขปิ ปณฺฑิโต น ชหาติ อ่านว่า ทุกโขปิ ปัณฑิโต นะ ชะหาติ คติธรรม : บำเพ็ญวิริยบารมี “เกิดเป็นคนควรมีความพากเพียรให้ถึงที่สุด เพื่อให้ถึงแก่สิ่งที่มุ่งหวัง เพียรสุดกำลังจนชีวิตหาไม่ก็จงเพียร แล้วความสำเร็จจะมาเยือน

พึงบากบั่น ทำการงานให้มั่นคง

พึงบากบั่น ทำการงานให้มั่นคง

ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม อ่านว่า ทัฬหะเมนัง ปะรักกะเม จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ ด้วยสัมมาชีพ ดังนี้ ขั้นที่ ๑ ขยันหมั่นทำงานเก็บออมทรัพย์ ดังผึ้งเก็บรวมน้ำหวานและเกสร ขั้นที่ ๒ เมื่อทรัพย์เก็บก่อขึ้นดังจอมปลวก พึงวางแผนใช้จ่าย คือ – ๑ ส่วน […]

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน

จิตฺตํ ภาวิตํ กมฺมนิยํ โหติ อ่านว่า จิดตัง ภาวิตัง กัมมะนิยัง โหติ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ […]

ผู้ขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้

ผู้ขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้

อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ อ่านว่า อุดฐาตา วินทะเต ธะนัง ความรู้สึกทางใจเป็นเครื่องวัดความรวยความจนที่เที่ยงตรงกว่าเงินทอง กล่าวเช่นนี้เพราะอะไร? เพราะถึงมีเงินน้อยแต่จ่ายเป็น เผื่อแผ่เป็น ก็ดูดีมีสง่าราศีเหมือนคนรวยได้ ตรงกันข้าม มีเงินมากแต่จ่ายไม่เป็น ทำบุญทำทานไม่ถูก ใจก็แผ่ “รังสีอัตคัด” ออกมาเหมือนขอทานได้ ใจเหมือนขอทานเป็นอย่างไร? คือใจที่มีแต่จะเอาเข้าตัว […]