ควรเป็นอยู่ ให้เหมาะสม

ควรเป็นอยู่ ให้เหมาะสม

สมชีวิตา โหนฺติ อ่านว่า สะมะชีวิตา โหนติ “ทางสายกลาง” มัชฌิมาปฏิปทา เส้นทางของพระพุทธเจ้า ทางสายกลาง คือ เราจะต้องคำนึงถึงความจริงแห่งอริยสัจจ์ คือ ความจริงที่เหมาะสมกับเหตุของภูมินั้นๆ ถึงจะเรียกว่า ทางสายกลาง จะสุดโต่งก็ไม่ได้ จะหย่อนยานก็ไม่ได้ ต้องให้ “พอดี” กับ […]

การมีกัลยาณมิตร เป็นสิ่งดี

การมีกัลยาณมิตร เป็นสิ่งดี

กลฺยาณมิตฺตตา โหติ อ่านว่า กันละยานะมิดตะตา โห-ติ “กัลยาณมิตรคือ ผู้พร้อมด้วยคุณสมบัติที่สามารถจะปกปักรักษาเราให้สวัสดี” พ้นจากภัยพิบัตินานาประการได้ เพราะกัลยาณมิตรจะไม่เป็นพิษเป็นภัยสำหรับเรา จะทำทุกประการให้เรารู้ทางดำเนินชีวิตอย่างปราศจากทุกข์โทษภัยไม่ว่ายิ่งใหญ่หรือเล็กน้อย

บัณฑิต แม้มีทุกข์ก็ไม่ละทิ้งธรรม

บัณฑิต แม้มีทุกข์ก็ไม่ละทิ้งธรรม

ทุกฺโขปิ ปณฺฑิโต น ชหาติ อ่านว่า ทุกโขปิ ปัณฑิโต นะ ชะหาติ คติธรรม : บำเพ็ญวิริยบารมี “เกิดเป็นคนควรมีความพากเพียรให้ถึงที่สุด เพื่อให้ถึงแก่สิ่งที่มุ่งหวัง เพียรสุดกำลังจนชีวิตหาไม่ก็จงเพียร แล้วความสำเร็จจะมาเยือน

พึงบากบั่น ทำการงานให้มั่นคง

พึงบากบั่น ทำการงานให้มั่นคง

ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม อ่านว่า ทัฬหะเมนัง ปะรักกะเม จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ ด้วยสัมมาชีพ ดังนี้ ขั้นที่ ๑ ขยันหมั่นทำงานเก็บออมทรัพย์ ดังผึ้งเก็บรวมน้ำหวานและเกสร ขั้นที่ ๒ เมื่อทรัพย์เก็บก่อขึ้นดังจอมปลวก พึงวางแผนใช้จ่าย คือ – ๑ ส่วน […]

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน

จิตฺตํ ภาวิตํ กมฺมนิยํ โหติ อ่านว่า จิดตัง ภาวิตัง กัมมะนิยัง โหติ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ […]

ผู้ขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้

ผู้ขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้

อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ อ่านว่า อุดฐาตา วินทะเต ธะนัง ความรู้สึกทางใจเป็นเครื่องวัดความรวยความจนที่เที่ยงตรงกว่าเงินทอง กล่าวเช่นนี้เพราะอะไร? เพราะถึงมีเงินน้อยแต่จ่ายเป็น เผื่อแผ่เป็น ก็ดูดีมีสง่าราศีเหมือนคนรวยได้ ตรงกันข้าม มีเงินมากแต่จ่ายไม่เป็น ทำบุญทำทานไม่ถูก ใจก็แผ่ “รังสีอัตคัด” ออกมาเหมือนขอทานได้ ใจเหมือนขอทานเป็นอย่างไร? คือใจที่มีแต่จะเอาเข้าตัว […]

จิตเป็นสุข เพราะรู้จักปล่อยวาง

จิตเป็นสุข เพราะรู้จักปล่อยวาง

อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข อ่านว่า อะนุปาทา จิดตัดสะ วิโมกโข คำตรัสของพระพุทธเจ้า “การปล่อยวาง” ดูก่อน อุปกะ ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหาอุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตนเป็นของตนจะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้น เป็นไม่มีหาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง […]

ปัญญา นั่นแล ประเสริฐกว่าทรัพย์

ปัญญา นั่นแล ประเสริฐกว่าทรัพย์

ปญฺญา ว ธเนน เสยฺโย อ่านว่า ปัญญา วะ ธะเนนะ เสยโย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นแลว่าเป็นของน้อย ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้งคนมั่งมีและคนยากจนย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน ทั้งคนพาลและคนฉลาดก็ต้องถูกผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น แต่คนพาลถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์เพราะความเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้นแล ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐกว่าทรัพย์ […]

การบำรุงบิดา นำมาซึ่งความสุข

การบำรุงบิดา นำมาซึ่งความสุข

อโถ เปตฺเตยฺยตา สุขา อ่านว่า อะโถ เปดเตยยะตา สุขา ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้ ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน […]

การรู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ นำสุขมาให้

การรู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ นำสุขมาให้

ญาโต อตฺโถ สุขาวโห อ่านว่า ญาโต อัดโถ สุขาวะโห ถ้าเราวางใจไม่เป็น… ๑. เราไม่รู้เท่าทันความจริง ใจเราก็เป็นทุกข์ไปขั้นหนึ่งแล้ว ๒. เรามองหาประโยชน์จากมันไม่ได้ ก็ได้แต่เศร้าโศกเสียใจ มีความระทมทุกข์ คับแค้น ตรอมตรมใจไปเท่านั้นเอง แต่ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์ และวางใจเป็น ก็กลับกลายเป็นดีไปได้…” […]