ความโศก ไม่อาจนำมาซึ่งความสุขในอนาคต

ความโศก ไม่อาจนำมาซึ่งความสุขในอนาคต

นานาคตสุขาวโห อ่านว่า นานาคะตะสุขาวะโห การทำให้จิตใจไม่โศกเศร้านั้น มีข้อแนะนำดังนี้ ๑. ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา ๒. ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา ๓. ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น ๔. คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงด้วยกันทั้งนั้น

อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ

อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ

มา ชาตึ ปุจฺฉ จรณญฺจ อ่านว่า มา ชาติง ปุจฉะ จะระณัญจะ “คนเราจะดีเพราะความประพฤติ” ” .. “คนเราจะดีเพราะความประพฤติ” ไม่ได้ดีเพราะรูปร่างกลางตัวเฉย ๆ ว่ามีเงินมีทองว่าดีไม่ดี “มันดีอยู่กับตัวเอง ถ้าตัวเองไม่ดีแล้วมีเท่าไรก็ฉิบหายหมด” ถ้าเจ้าของดีแล้วมีน้อยก็มีมาก ไม่ดีก็ดีขึ้นไปโดยลำดับ […]

ผู้ถือตนเป็นใหญ่ ควรมีสติกำกับ

ผู้ถือตนเป็นใหญ่ ควรมีสติกำกับ

อตฺตาธิปโก สโต จเร อ่านว่า อัตตาธิปะโก สโต จะเร สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมันไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑. กายานุปัสสนา […]

ทำอะไร โดยผลีผลาม ย่อมเดือดร้อน

ทำอะไร โดยผลีผลาม ย่อมเดือดร้อน

เวคสา หิ กตํ กมฺมํ อ่านว่า เวคะสา หิ กะตัง กัมมัง นิทานธรรมะบันเทิง …รอดเพราะปัญญา… พญาลิงผู้ตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง เคยโดดข้ามไปหาอาหารผลไม้กิน ที่เกาะกลางน้ำ ในขณะที่กระโดดไปนั้น ต้องพักที่ก้อนหินซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างฝั่งกับเกาะ แล้วจึงกระโดดต่อไปยังเกาะอีกทีหนึ่ง ทั้งไปและกลับ ต้องทำเช่นนี้เป็นนิจ […]

จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท

จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท

อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ อ่านว่า อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ การฝึกจิตที่ดีย่อมสำเร็จประโยชน์ เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งาน ต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมัน ทำประโยชน์นานาประการ ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคลจนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไปและท่านได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เรา ๆ จะกำหนดเพราะพระพุทธองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น […]

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข

ธมฺมจารี สุขํ เสติ อ่านว่า ธัมมะจารี สุขัง เสติ อานิสงส์ของการสวดมนต์แผ่เมตตา มีดังนี้ -หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย -เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย

ควรแบ่งปัน ไม่ว่ามากหรือน้อย

ควรแบ่งปัน ไม่ว่ามากหรือน้อย

อปฺปํ วา ยทิวา พหุ อ่านว่า อับปัง วา ยะทิวา พะหุ จาคะ คือ การเสียสละ การแบ่งปัน การให้ การมีน้ำใจ การเผื่อแผ่ ความไม่โลภ (อโลภะ) และที่สำคัญคือ การสละที่ยิ่งใหญ่ […]

ผู้ไม่คาดหวัง ย่อมหลับเป็นสุข

ผู้ไม่คาดหวัง ย่อมหลับเป็นสุข

สุขํ นิราสา สุปติ อ่านว่า สุขัง นิราสา สุปะติ ทุกข์เกิดจากความคาดหวัง…,, ดังนั้นไม่ควรคาดหวังอะไรมากมายจะทำให้ทุกข์ง่าย เกิดความเครียดสะสม 1. ถ้าเป็นเรื่องงานก็ขอทำให้เต็มที่ เต็มกำลัง โดยไม่ท้อ ดีที่สุดตามกำลังความสามารถตน เเละควรพอใจกับผลงานนั้น 2. กรณีครอบครัว ทุกข์เพราะลูก ก็ทำหน้าที่เเม่ของเราไป […]

คนคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง

คนคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง

ยานิ กโรติ ตานิ ปสฺสติ อ่านว่า ยานิ กะโรติ ตานิ ปัดสะติ ลักษณะของญาติที่ควรให้การสงเคราะห์ เมื่ออยู่ในฐานะดังนี้คือ ๑. เมื่อยากจนหาที่พึ่งมิได้ ๒. เมื่อขาดทุนทรัพย์ในการค้าขาย ๓. เมื่อขาดยานพาหนะ ๔ .เมื่อขาดอุปกรณ์ทำมาหากิน ๕. เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย […]

คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นเอง

คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นเอง

ยานิ กโรติ ตานิ ปสฺสติ อ่านว่า ยานิ กะโรติ ตานิ ปัดสะติ ลิงสองพี่น้อง (จุลลนันทิยชาดก) ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวันเมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้ชั่วช้า ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า… กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลิงชื่อนันทิยะอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลิงน้องชายชื่อจุลลนันทิยะ มีลิงบริวารอยู่ประมาณ ๘๔,๐๐๐ […]