ควรตั้งใจทำธุระของตน

ควรตั้งใจทำธุระของตน

อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย อ่านว่า อัดตะโน วะ อะเวกเขยยะ ก้าว (๙) พลัง ๙ พลัง หรือ ข้อธรรม ๙ ข้อนี้ เราใช้กับหลักสิ่งต่างๆ ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ […]

การรู้จักพอ มีแต่ประโยชน์

การรู้จักพอ มีแต่ประโยชน์

อปฺปิจฺฉตา อตฺถาย สํวตฺตติ อ่านว่า อับปิดฉะตา อัดถายะ สังวัดตะติ “คิดให้รู้จักพอ” (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) “คิดให้รู้จักพอ” ” .. ความคิดอย่างหนึ่งที่สมควรฝึกให้เกิดขึ้นเป็นประจำ “คือความคิดว่าพอ คิดให้รู้จักพอ” ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้ที่มีความสบายใจ ส่วนผู้ไม่รู้จักพอจะเป็นผู้ร้อนเร่าแสวงหาไม่หยุดยั้ง “ความไม่รู้จักพอมีอยู่ได้ แม้ในผู้เป็นใหญ่เป็นโตมั่งมีมหาศาลและความรู้จักพอก็มีได้แม้ในผู้จนต่ำต้อย” ทั้งนี้ก็เพราะความพอเป็นเรื่องของใจที่ไม่เกี่ยวกับฐานะภายนอก […]

ควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าจะประสบผลสำเร็จ

ควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าจะประสบผลสำเร็จ

วายเมเถว ปุริโส ยาว นิปฺปทา อ่านว่า วายะเมเถวะ ปุริโส ยาวะ นิบปะทา สมาธิเท่านั้นติดตัวไปได้ : หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคลฯ กรุงเทพฯ … เรานั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะพัฒนาจิตของเรานี้ให้ยิ่งขึ้น ไม่ควรคิดว่าเท่านี้พอแล้ว […]

ไม่ควรยึดถือในความผิดพลาด

ไม่ควรยึดถือในความผิดพลาด

ขลิตญฺจ จ คาหเย อ่านว่า ขะลิตัญจะ จะ คาหะเย กาลเวลาแต่ละวันเดือนปีที่ผ่านไป เป็นโอกาสที่จะได้ย้อนตรวจสอบบทบาทลีลาของชีวิต หากผิดพลาดจะได้หาโอกาสแก้ไขเพื่อความผ่องใสยิ่งขึ้น เรียกว่าเป็นจังหวะที่จะได้ “ทบทวนความหลัง ระวังความผิด และเตือนจิตของตน” พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ทุกคนรู้จักพลิกบทบาทของชีวิต อุปมาคล้ายคนปิ้งปลา รู้ว่าจะไหม้ต้องพลิกกลับ ดังกลอนอุทานธรรม ท่านสอนไว้ว่า.. ปิ้งปลาหมอ […]

คนโกรธ ย่อมมองไม่เห็นธรรม

คนโกรธ ย่อมมองไม่เห็นธรรม

กุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ อ่านว่า กุทโธ ธัมมัง นะ ปัสสะติ “คนมักโกรธย่อมอยู่เป็นทุกข์” ” .. “ทำตัวให้เป็นทุกข์ด้วยการไม่ลดละความโกรธ” ก็คือการไม่เมตตาตนเองก่อนไม่เมตตาใครอื่น “ญาติมิตรและสหายย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ” นี้ก็เป็นพระพุทธศาสนสุภาษิตอีกบทหนึ่ง “ที่ชี้โทษของความโกรธ ไม่มีผู้ใดชอบสมาคมกับคนขี้โกรธ” เพราะไม่ทำให้เกิดความสบายใจได้เลยและใครเล่าปรารถนาความไม่สบายใจ ไม่มีแน่ […]

ผู้ไม่มีอะไรกังวลใจ ย่อมมีความสุข

ผู้ไม่มีอะไรกังวลใจ ย่อมมีความสุข

สุขํ วต ตสฺส น โหติ กิญฺจิ อ่านว่า สุขัง วะตะ ตัสสะ นะ โหติ กิญจิ พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ความทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้จักเหตุเราก็รู้จักวิธีกำจัดทุกข์ได้ […]

ผู้ถือตนเป็นใหญ่ ควรมีสติกำกับ

ผู้ถือตนเป็นใหญ่ ควรมีสติกำกับ

อตฺตาธิปโก สโต จเร อ่านว่า อัตตาธิปะโก สโต จะเร สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมันไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑. กายานุปัสสนา […]

สติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของใจ

สติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของใจ

มนสฺส สติ ปฏิสรณํ อ่านว่า มนัสสะ สติ ปฏิสะระณัง “กัมมัฏฐานเบื้องต้น” ” .. ในขณะที่เราทำการปฏิบัติสมาธิกัมมัฏฐานนั้น “เราจะต้องมีบทบริกรรมบทใดบทหนึ่ง มาเป็นเครื่องล่อจิต” เหมือนอย่างเด็กเล็กที่มันกำลังร้องไห้ร้องห่มอยู่ ผู้ที่เป็นพ่อเป็นแม่หรือเป็นพี่เลี้ยงจะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขนมหรือของเล่นบางประการให้เด็กนั้นเล่นแล้วก็หายจากความร้องไห้ไป ฉันใดก็ดี “จิตของเราเมื่อยึดในอารมณ์ส่วนใดส่วนหนึ่ง” เช่น […]

คนดี ย่อมหอมทวนไปทุกทิศ

คนดี ย่อมหอมทวนไปทุกทิศ

สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ อ่านว่า สัพพา ทิสา สัปปุริโส ปะวายะติ ด้วยเหตุของการบันดาลที่เห็นกันนั้น มันเกิดจากความดีของคนเราที่ได้ทำความดี มีกุศลไว้แล้ว ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาอารักษ์ จะเป็นอุปกรณ์ของบุญได้สื่อออกมายังวัตถุมงคล ให้ช่วยปกป้องจากภัยอันตราย แต่ถ้าหากคนเราไม่มีบุญแล้ว สิ่งศักดิ์เหล่านี้ก็จะช่วยไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นถ้าคนเรามั่นใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่าบุญเกิดจากการกระทำ เราก็ไม่ต้องไปให้ความสำคัญ […]

ความทุกข์ เป็นภัยใหญ่ของคน

ความทุกข์ เป็นภัยใหญ่ของคน

ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ อ่านว่า ทุกขะมัสสะ มหัพภะยัง ทุกข์ทางกาย หมายถึงทุกข์ที่มีกายเป็นเหตุ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความหนาว ความร้อน ความป่วยไข้ ความบาดเจ็บ ความหิวกระหาย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทุกข์ที่เกิดจากการที่ต้องคอยประคบประหงม ดูแลบำรุงรักษาทำความสะอาดร่างกาย และความทุกข์อื่น ๆ อันมีกายเป็นต้นเหตุอีกเป็นจำนวนมาก ทุกข์ทางกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับร่างกาย […]