การให้ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ชื่อว่าเป็นการเสียสละที่ดีแล้ว

การให้ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ชื่อว่าเป็นการเสียสละที่ดีแล้ว

อวิวาทญฺจ เขมโต อ่านว่า อะวิวาทัญจะ เขมะโต

———————

มงคลที่ ๑๕ การให้ทาน

ทานัญจะ

๏ ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ชนะมาร

http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem15.php
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน ๛

Facebook LikeFacebookLineTwitterPinterestSumoMe

 

การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์

แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่

๑. อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน

๒. ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน

๓. อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน

 

 

การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดี และได้บุญมากนั้นจะประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการอันได้แก่

๑. วัตถุบริสุทธิ์ คือเป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอกมา โกงมา หรือได้มาด้วยวิธีแยบยล

๒. เจตนาบริสุทธิ์ คือมีจิตยินดี ผ่องใสเบิกบาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้ ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้

๓. บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์

 

 

การให้ทานที่ถือว่าไม่ดี และยังอาจเป็นบาปกรรมถึงเราทางอ้อมอีกด้วยได้แก่

๑. ให้สุรา ยาเสพย์ติด เป็นต้น (ถ้าเขาเมาแล้วขับรถชนตาย เราก็มีส่วนบาปด้วย)

๒. ให้อาวุธ (ถ้าอาวุธนั้นถูกเอาไปใช้ประหัตประหาร บาปก็มาถึงเราด้วย)

๓. ให้มหรสพ คือการบันเทิงทุกรูปแบบ

๔. ให้สัตว์เพศตรงข้ามเพื่อผสมพันธุ์ อันนี้รวมถึงการจัดหาสาวๆ ไปบำเรอผู้มีอำนาจหรือผู้น้อยด้วยเป็นต้น

๕. ให้ภาพลามก หรือสิ่งพิมพ์ลามก เพราะทำให้เกิดความกำหนัด เกิดกามกำเริบ (เมื่อดูแล้วเกิดไปฉุดคร่า ข่มขืนใคร บาปก็ตกทอดมาถึงเราด้วย)

เพิ่มเพื่อน